คุณแม่ในโปรแกรมการศึกษาปฐมวัย

รูปเราเอง

กิจกรรมของฉัน

สิ่งที่ชอบมากที่สุด

หนังสือนิทาน เรื่องเพื่อนรักในป่าใหญ่


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

1
วันศุกร์, ธันวาคม 11, 2009

ความหมายของนวัตกรรม“นวัตกรรม”
หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม”แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้นดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นจรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือระยะที่1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัยระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
เขียนโดย นางสาวนารี พวงทิพย์ ที่ 11:32 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น

การสร้างสื่อด้วยคอมพิวเตอร์
การสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอเนื้อหาสาระองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน1. เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อน2. ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสิน คำตอบ3. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัลหรือคะแนน4. ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าลำดับต่อไปรูปแบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน1. เพื่อการสอน สอนเนื้อหาใหม่แก่ผู้เรียน2. ประเภทแบบฝึกหัด เพื่อฝึกความแม่นยำ3. ประเภทสถานการณ์จำลอง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติกับสถานการณ์จำลอง4. ประเภทเกมการสอน เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน5. ประเภทการค้นพบ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทดลองกระทำสิ่งต่างๆจนสามารถสรุปได้ด้วยตนเอง6. ประเภทแก้ปัญหา ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด ตัดสินใจ7. ประเภทเพื่อการทดสอบ ใช้ประเมินการสอนของครูประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน1. สร้างแรงจูงใจในการเรียน ดึงดูดความสนใจ2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง4. สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้อย่างชัดเจน5. ประหยัดเวลาและงบประมาณในการเรียนการสอน
เขียนโดย นางสาวนารี พวงทิพย์ ที่ 11:23 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น

การออกแบบสื่อ
การออกแบบสื่อการเรียนการสอนการออกแบบสื่อองค์ประกอบทีสำคัญในการเรียนการสอน คือสิ่งที่นำไปประกอบการเรียนการสอนลักษณะการออกแบบที่ดี1. ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้นปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน1. เป้าหมายของการเรียนการสอนพฤติกรรมด้านพุทธพิสัย แสดงว่าได้เกิดความรู้และสามารถอธิบายวิเคราะห์ได้พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย เป็นทักษะในการเคลื่อนไหวลงมือทำงาน หรือความว่องไวในการแก้ปัญหาพฤติกรรมด้านจิตพิสัย แสดงความรู้สึก อารมณ์ที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้และสภาพแวดล้อม2. ลักษณะของผู้เรียน เนื้อหาและรายละเอียดของสื่อย่อมแปรตามอายุ และความรู้พื้นฐานของผู้เรียน3. ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อลักษณะผู้เรียน- การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะการบรรยาย สาธิต- การสอนกลุ่มเล็ก- การสอนเป็นรายบุคคลสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ4. ลักษณะสื่อ- ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ- ขนาดมาตรฐานของสื่อวิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอนเป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้(ข้อมูลย้อนกลับ)จากการผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นระบบการเรียนการสอน1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสอดคล้องกัน2. พิจารณาพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน3. ขั้นการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน
เขียนโดย นางสาวนารี พวงทิพย์ ที่ 11:01 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น
วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 22, 2009

ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 1 ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาความหมายของเทคโนโลยีคำว่า เทคโนโลยี มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ชาร์ลส์ เอฟ. โฮบาน (Charles F. Hoban 1965 : 124) ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีว่า มิใช่คน หรือเครื่องจักร แต่เป็นการจัดระเบียบอันมีบูรณาการและความสลับซับซ้อนของความคิดคาร์เตอร์ วี กู๊ด (Carter V. Good 1973 : 592) ได้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีในพจนานุกรมการศึกษาว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในวงการศึกษาต่าง ๆ หรือมาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเอคการ์ เดล (Edgar Dale 1957 : 610) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ในหนังสือ Audio - Visual Method in Teaching ว่า เทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการวิธีการทำงานอย่างมีระบบก่อศักดิ์ สวัสดิพาณิชย์ (2517 : 83) กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในวงการศึกษาต่าง ๆ หรือมาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2520 : 35) ได้เขียนไว้ในหนังสือมิติที่ 3 ว่า ตามรูปศัพท์ภาษาอังกฤษเทคโนโลยี หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการ ซึ่งอยู่ในรูปของการจัดระบบงานด้วยองค์ 3 คือ1. ข้อมูลที่ใส่เข้าไป ได้แก่ การกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง2. กระบวนการ ได้แก่ การลงมือแก้ปัญหา แจกแจงวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์3. ผลลัพธ์ คือ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหาและทำการประเมินผลดังนั้น "เทคโนโลยี" หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการขยายตัวทางวิทยาการทำให้เทคโนโลยี ถูกนำมาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ เช่น- เทคโนโลยีทางการทหาร (Military Technology)- เทคโนโลยีทางการแพทย์ (medical Technology)- เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)- เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology)- เทคโนโลยีทางการค้า (Commercial Technology)- เทคโนโลยีทางวิศวกรรม (Engineering Technology)- เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม (Social Marketing Technology) - เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)ความหมายของนวัตกรรมนวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นนวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การสอนแบบโปรแกรม (Program Instruction) เครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม 1. เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปัจจุบันขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)2. ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)นวัตกรรมเป็นคำที่ใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีเสมอ ดังแผนภูมิต่อไปนี้จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรมนั้นก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีขึ้นมาทันทีปัญหาและอุปสรรคทางการศึกษาการพัฒนาการศึกษา มีปัญหาและอุปสรรคสำคัญ 4 ประการ คือ1. ปัญหาบุคคล ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้สอน และผู้เรียน2. ปัญหาเครื่องมือ ได้แก่ ศักยภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือสื่อการศึกษา3. ปัญหางบประมาณ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการจัดการหรือการบริหารงานการศึกษา4. ปัญหาวิธีการ ได้แก่ วิธีการหรือช่องทางที่จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาเทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ระดับของเทคโนโลยีทางการศึกษา การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา ต้องอาศัยหลักจิตวิทยาเป็นพื้นฐานสำคัญ เทคโนโลยีทางการศึกษาแบ่งออกได้ 3 ระดับ ได้แก่1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู (Teacher's Aid) เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน การใช้เทคโนโลยีระดับนี้ จะต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลา2. ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตนเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้สอนเสมอไป การใช้เทคโนโลยีระดับนี้บทบาทของครูต่อหน้าผู้เรียนลดลง ข้อดีในแง่การจัดกิจกรรม การใช้เครื่องมือ ข้อเสีย คือ ไม่มีความผูกพันระหว่างครูกับผู้เรียน3. ระดับการจัดระบบการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เทคโนโลยีระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา สื่อการศึกษา เป็นต้นบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้า วิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะ หรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น เช่น การจัดการศึกษานอกระบบ การจัดการศึกษาพิเศษสาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในทางการศึกษากระบวนการให้การศึกษาปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ พอสรุปได้ 3 ประการ คือ1. การเพิ่มจำนวนประชากร เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่เรียน ครู สื่อการสอน เป็นต้น ทำให้การจัดการศึกษาไม่ทั่วถึง นักการศึกษาได้เสนอแนวทางในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เช่น โทรทัศน์การสอน (Instructional T.V.) ชุดการสอน (Instruction Package) เป็นต้น2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มประชากรโดยตรง ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การต่อสู้ดิ้นรน การแข่งขันสูงขึ้น การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับเหตุการณ์อยู่เสมอ3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้พบวิทยากรใหม่ ๆ ด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา และวิธีการสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษากับการศึกษาไทยปัญหาและสภาพการศึกษาไทยในอดีตย่อมได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะปัญหาการด้อยคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งประมวลได้ 3 ประการ คือ1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง คนไทยส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่นและไม่นับถือตนเอง ในสภาพการเรียนการสอนที่ครูเป็นศูนย์กลาง ทำให้ผู้เรียนเกิดปมด้อย ขาดความเชื่อมั่น การจัดการศึกษาควรให้ผู้เรียนได้เป็นศูนย์กลาง2. การไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ในอดีตหลักสูตรบรรจุเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ที่ไม่เอื้อต่อผู้เรียนในส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ การจัดการศึกษาควรสนองความต้องการของคนแต่ละภาคเพื่อให้เขาได้ชื่นชมกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการไม่ยอมรับความสามารถของคนไทยด้วยกันเองด้วย3. การขาดทักษะที่พึงประสงค์ มนุษย์เกิดมาภายใต้อิทธิพลของพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมลักษณะที่ไม่ดีต่าง ๆ เช่น ความโลภ ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ การศึกษาที่จัดอย่างเป็นระบบจะทำให้คนมีคุณภาพและควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสม การศึกษาในระบบเดิม นอกจากไม่สามารถลดปริมาณสันดานดิบของผู้เรียนลงได้แล้ว ยังมีผลต่อเนื่องให้ผู้สำเร็จการศึกษาขาดลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ประการคือ3.1 กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น3.2 สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง3.3 รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่อย่างมีประสิทธิภาพ3.4 รู้จักแสวงความรู้เอง3.5 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
เขียนโดย นางสาวนารี พวงทิพย์ ที่ 2:57 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น
วันจันทร์, ตุลาคม 26, 2009

เทคโนโลยีทางการศึกษา
รหัสวิชา ล.1008อาจารย์ผู้สอน ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์คำอธิบายรายวิชา (Course Description)ความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาต่อการเรียนการสอน วิธีระบบ กระบวนการสื่อความหมาย การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน การเลือก การแนะนำให้รู้จักเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน การจัดหา การใช้ การผลิต การประเมินผล และการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน ฝึกปฏิบัติผลิตสื่อกับสภาพของชั้นเรียนวัตถุประสงค์ (Course General)เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอนแล้วนักศึกษาจะมีความสามารถดังต่อไปนี้1. มีความรู้ความเข้าใจ ความหมาย ขอบข่าย ความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมศึกษาที่มีต่อการ เรียนการสอน วิธีระบบ กระบวนการสื่อความหมาย การจำแนก ประเภทของสื่อการเรียนการสอน การเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนตลอดจนการประเมิน2. สามารถปฏิบัติการการจัดหา ผลิต ใช้และเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน3. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสามารถประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้วัตถุประสงค์ของวิชา (Course of Objectives)เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชานี้แล้วนักศึกษาจะมีความสามารถหรือมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้1. เข้าใจความหมาย ขอบข่าย ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน2. สามารถอธิบายความมาย คุณค่า ประเภท หลักการจัดหา การเลือก การผลิต และการใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมได้3. สามารถอธิบายหลักจิตวิทยาการรับรู้ การเรียนรู้ และจิตวิทยาพัฒนาการ ซึ่งเป็นพื้นฐานของกระบวนการสื่อความหมายและการเรียนการสอนได้4. สามารถประยุกต์วิระบบมาใช้เพื่อให้การจัดการศึกษาและการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ5. สามราถอธิบายหลักการเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนเนื้อหาการจัดลำดับในเนื้อหาจากการศึกษาคำอธิบายรายวิชา ผู้สอนได้วิเคราะห์เนื้อหา แล้วจำแนกและเรียงลำดับให้เหมาะสมกับศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียน แบ่งเป็น 14 หน่วย ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง รวม 32 ชั่วโมง ซึ่งเนื้อหาแต่ละหน่วยการเรียนการสอนได้เรียงลำดับดังนี้หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สื่อการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สื่อการสอนประเภทวัสดุหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สื่อการสอนประเภทโสตทัศนูปกรณ์หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สื่อการสอนประเภทกิจกรรมหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การสื่อความหมายหน่วยการเรียนรู้ที่ 7 จิตวิทยาการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การจัดระบบการเรีนการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 9 คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาหน่วยการเรยนรู้ที่ 10 นวัตกรรมทางการศึกษาหน่วยการเรียนรู้ที่ 11 การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาหน่วยการเรียนรู้ที่ 12 แนวโน้มของเทคโนโลยีกรศึกษาหน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การฝึกปฏิบัติการผลิตสื่อการสอนด้วยคอมพิวเตอร์หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อกิจกรรม
เขียนโดย นางสาวนารี พวงทิพย์ ที่ 9:43 หลังเที่ยง 1 ความคิดเห็น
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ชื่อวิชา เทคโนโลยีทางการศึกษา
รหัสวิชา ล. 1008
อาจารย์ผู้สอน ผศ. วิวรรณน์ จันทร์เทพย์
คำอธิบายรายวิชา
ความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาต่อการเรียนการสอน วิธีระบบ กระบวนการสื่อความหมาย การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอนการเลือก การแนะนำให้รู้จักเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนการจัดหา การใช้ การผลิต การประเมินผล และการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน ฝึกปฏิบัติผลิตสื่อหลักกับสภาพชั้นเรียน
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอนแล้วนักศึกษาจะมีความสามารถดังต่อไปนี้
1. มีความรู้ความเข้าใจ ความหมาย ขอบข่าย ความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอน วิธีระบบ กระบวนการสื่ความหมาย การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน การเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนตลอดจนการประเมินผล
2. สามารถปฏิบัติการการจัดหา ผลิต ใช้และเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน
3. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสามารถประยุกต์เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้
วัตถุประสงค์ของวิชา
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชานี้แล้วนักศึกษาจะมีความสามารถหรือมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้
1. เข้าใจความหมาย ขอบข่าย ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน
2.สามารถอธิบายความหมาย คุณค่า ประเภท หลักการจัดหา การเลือก การผลิต และการใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมได้
3. สามารถอธิบายหลักจิตวิทยาการรับรู้ การเรียนรู้ และจิตวิทยาพัฒนาการ ซึ่งเป็นพื้นฐานของกระบวนการสื่อความหมายและการเรียนการสอนได้
4. สามารถประยุกต์วิธีระบบมาใช้เพื่อให้การจัดการศึกษาและการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ
5. สามารถอธิบายหลักการเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน
เนื้อหา
การจัดลำดับเนื้อหาจากการศึกษาคำอธิบายรายวิชา ผู้สอนได้วิเคราะห์เนื้อหา แล้วจำแนกและเรียงลำดับให้เหมาะกับการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียน แบ่งเป็น 14 หน่วย ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง รวม 32 ชั่วโมง ซึ่งเนื้อหาแต่ละหน่วย การเรียนดการสอนได้เรียงลำดับดังนี้
หน่วยการเรียนที่ 1 ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 2 สื่อการเรียน
หน่วยการเรียนที่ 3 สื่อการสอนประเภทวัสดุ
หน่วยการเรียนที่ 4 สื่อการเรียนประเภทโสตทัศนูปกรณ์
หน่วยการเรียนที่ 5 สื่อการสอนประเภทกิจกรรม
หน่วยการเรียนที่ 6 การสื่อความหมาย
หน่วยการเรียนที่ 7 จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 8 การจัดระบบการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 9 คอมพิวเตอรืเพื่อการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 10 นวัตกรรมทางการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 11 การวิจัยทางเทคโนโลยีทางการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 12 แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 13 การฝึกปฎิบัติการผลิตสื่อการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 14 การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อกิจกรรม
เทคโนโลยีทางการศึกษา
หน่วยที่1 เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรม
การศึกษาความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
1. เทคโนโลยีทางการศึกษาเทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติ ได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpanedt01.htm) Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ(boonpan edt01.htm)นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำาโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า2. เทคโนโลยีทางการศึกษา(Educational Technology)เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึงการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการแก้ปัญหาการศึกษา การศึกษา หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเนื่องมาจาก ประสบการณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ต้องเป็นที่ยอมรับของสังคมความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป หมายถึงการระดมสรรพความรู้ที่มีเหตุผล(พิสูจน์ได้)มาประยุกต์ให้เป็นระบบที่ดีสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงเพื่อแก้ไขปัญหาให้บรรลุจุดมุ่งหมาย (เป้าประสงค์) ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยการใช้ทรัพยากร อย่างประหยัดอันที่จริง แก่นแท้ของเทคโนโลยีการศึกษา ก็คือ วิธีการแก้ปัญหาให้แก่การศึกษาด้วยการคิดไตร่ตรองหาทางปรับปรุงเกี่ยวกับการเรียนการสอน ด้วยการตั้งข้อสงสัย และทำไปอย่างเป็นระบบ ก่อนหน้าที่จะมีการกล่าวถึงเทคโนโลยีทางการศึกษา เราคุ้นเคยอยู่กับ โสตทัศนศึกษากันแล้ว แม้กระทั่งเดี่ยวนี้ คนก็ยังคิดว่า โสตทัศศึกษาก็คือ เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีทางการศึกษา ก็คือ โสตทัศนศึกษา ที่คิดอย่างนั้น ก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง โดยเฉพาะความคิดแรก แต่มันมีความถูกต้องไม่มากนักหรือเกือบผิด ก็ว่าได้ ความคิดหลังนั้น ถูกตรงที่โสตทัศนศึกษาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีทางการศึกษาเท่านั้น
3. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา มีอยู่หลายทัศนะ องค์กรร่วมสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ประเทศอังกฤษ(Council for Educational Technology for the United Kingdom - CET)อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการพัฒนาการนำไปใช้และการประเมินระบบ วิธีการดำเนินงานและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อทำให้การเรียนรู้ของคนเราให้ดีขึ้น" ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น โดยครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์หรือเครื่องมือ วิธีการดร. เปรื่อง กุมุทได้กล่าวถึงทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการศูนย์บทเรียนโปรแกรมแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (National Centre for Programmed Learning , UK)อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ และเงื่อนไขของการเรียนรู้มาใช้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอนและการฝึกอบรม แต่ถ้าหากปราศจากหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เทคโนโลยีทางการศึกษาจะแสวงหาวิธีดำเนินการโดยการทดลองเพื่อเสริมสร้างสถานภาพองการเรียนรู้ให้ดีขึ้น"คณะกรรมาธิการสาขาเทคโนโลยีการสอน ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Commission on InstructionalTechnology . USA) ได้อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือการนำแนวความคิดที่เป็นระบบไปใช้ในการออกแบบ ดำเนินการ และประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งกระบวนการในรูปของวัตถุประสงค์เฉพาะซึ่งมีพื้นฐานมาจากผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสื่อความหมายของมนุษย์เรา อีกทั้งนำเอาทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่นๆมาผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่สูงยิ่งขึ้น" Edgar Daleกล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุตามแผนการครรซิต มาลัยวงษ์ กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการศึกษา ก็คงจะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาส่วนผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม อาจเรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมองว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการใช้เทคโนโลยีลักษณะเดียวกัน แต่มีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน" ชัยยงค์ อธิบายถึงเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้อย่างละเอียดว่า "เทคโนโลยีเป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ)และผลิตกรรมของวิศวกรรม (อุปกรณ์) โดยยึดหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทั้งในด้านบริหารด้านวิชาการ และด้านบริการ" หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงระบบการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น วัสดุ (Material)หมายถึงผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุผังสิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น ชอร์ค ดินสอ ฟิล์ม กระดาษ ส่วนอุปกรณ์(Equipment) หมายถึงผลิตกรรมทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือค่าง ๆ เช่น โต๊ะกระดานดำ เก้าอี้ เครื่องฉายเครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ และวิธีการ (Technique) หมายถึงระบบ กระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง กลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น
4. ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายกว้างขวางพอๆ กับความหมายของคำว่า “การศึกษา” เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นการแก้ปัญหาทางการศึกษาอย่างมีหลักการและเหตุผล เป็นแนวคิดที่มีระบบเกี่ยวกับการเรียนการสอน เทคโนโลยี (Technology) คำว่า Technology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีซ คือ tech หมายถึง art ในภาษาอังกฤษ และคำว่า logos หมายถึง A study of ดังนั้นTechnology จึงหมายถึง A study of art เทคโนโลยี มิใช่เฉพาะเครื่องจักร กับคนเท่านั้น แต่เป็นการจัดระเบียบที่บูรณาการ และมีความซับซ้อน อันประกอบด้วย คน เครื่องจักร ความคิด วิธีการ และการจัดการ CarterV.good กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ ให้ความหมายเทคโนโลยีว่า หมายถึงการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานอย่างเป็นระบบ จึงอาจกล่าวได้ว่า เป็น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ นั่นเอง ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ให้คำจำกัดความว่า เทคโนโลยี หมายถึงการนำเอาวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์พื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม กล่าวโดยสรุป เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาระเบียบ วิธีการ อันเป็นผลิตผลของวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ แก่งานด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นการศึกษา (Education)การศึกษา หมายถึง การผสมผสานกระบวนการทั้งหลาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถ ทัศนคติ และรูปแบบที่น่าพึงพอใจของพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมที่เขาอาศัยอยู่(AECT:1979)สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา (1979:12) ให้คำอธิบายว่าความคิด เครื่องมือ และการจัดการ เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา การจัดการวิธีแก้ปัญหาการปรับปรุงและการแก้ปัญหามาใช้ ซึ่งต้องใช้แนวทางทั้งหลายของการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาโดยวิธีการทางเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น จะรวมเอาแหล่งการเรียนรู้ทั้งหลายที่ออกแบบ เลือกหรือนำมาใช้เพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายที่ผู้เรียนประสบผลสำเร็จตามต้องการดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ ได้ให้นิยามว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึงการนำเอาวิธีการหรือเครื่องมือใหม่ ๆมาใช้ทางการศึกษาเพื่อช่วยให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น Carter V. Good กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึงการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์และเครื่องมือของระบบการสอนเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน
นวัตกรรม
นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิดการผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจนวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร